วันอาทิตย์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2563

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ



  • เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม
  • เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

TELECOMMUNICATION TECHNOLOGY









ความสำคัญ

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นการสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมากจนทำให้โลกดูเล็กลง



รูปแบบของเทคโนโลยี

เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมมีรูปแบบต่าง ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันคือ :

1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication)



ดาวเทียมไทยคมในประเทศไทย

ปัจจุบันประเทศไทยมีดาวเทียมไทยคม 3 ดวงลอยอยู่เหนือประเทศทางด้าน มหาสมุทรอินเดียและอ่าวไทย ดาวเทียมไทยคมนี้ใช้ประโยชน์ทางด้านการสื่อสารของประเทศได้มาก เพราะเป็นการให้บริการสื่อสารของประเทศในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ สัญญาณจากวิทยุ สัญญาณข้อมูลข่าวสารต่างๆ



การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง(fiber optic)




เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้ม
ด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ภายในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลาย
ด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่ง
แสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการ
เปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว

รูปลักษณะของใยแก้วนำแสง


ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้ง
ใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ

โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN)


ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลขแทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล 



การใช้งานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล 

เน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่น ในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ 
  • สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ 
  • ใช้ส่งโทรสาร (Facimile)
  • ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ (Video Conference) 
  • ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ 

สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
1.เกิดความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร
2.เกิดสภาวะ Ubiquitous (evereywhere,at the same time)
   -ลดข้อจำกัดเรื่องระยะทาง
   -ลดข้อจำกัดเรื่องเวลา
3.เกิดความเสมอภาคในการติดต่อสื่อสาร
    -ทุกคนมีสิทธิติดต่อสื่อสาร
    -ทุกคนมีสิทธิในการรันเเละส่งข้อมูล

ระบบเครือข่ายสวิตชิง (switching technology)

ด้วยเทคโนโลยีเอทีเอ็มสวิตชิงที่มีความเร็วสูงทำให้การสื่อสารผ่านเส้นใยแก้วนำแสงในการส่งผ่านข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทางได้ด้วยความเร็วหลายร้อยเมกะบิตต่อวินาที 

เอทีเอ็มสวิตชิง เป็นเทคโนโลยีของการสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารที่จะรองรับการใช้งานแบบสื่อประสม 

ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system)
เรียกอีกอย่างว่าระบบเซลลูลาร์โฟน (cellular phone system)

ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system)



ระบบนี้ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก







ระบบสื่อสารไร้สาย (wireless communication)  
เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อสร้างความสะดวกในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่าย ระบบที่รู้จักและใช้งานกันแพร่หลายคือ ระบบแลนไร้สาย (wireless LAN) 



เป็นระบบเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายด้วยสัญญาณวิทยุ สามารถเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบด้วยความเร็วสูงถึง 11 เมกะบิตต่อวินาที   LAN : Local Area Network









ระบบเครือข่ายไร้สายที่รู้จักและนำมาประยุกต์ใช้กันมากอีกระบบหนึ่งคือ ระบบบลูทูธ (bluetooth) เป็นการเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ เข้าสู่เครือข่ายในระยะใกล้ เพื่อลดการใช้สายสัญญาณ และสร้างความ
สะดวกในการใช้งาน

ระบบสารสนเทศ (Information System)

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบ
ข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความ
ต้องการของผู้ใช้  และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ

1.การนำเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การบันทึกการขายรายวัน,บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน ฯลฯ

 2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยการเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดรูปแบบ และการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง การนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทิน ฯลฯ

  3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ

 4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะยาวระยะหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล














กระบวนการประมวลของข้อมูลในระบบสารสนเทศ


องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
  1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ์)
  2. ซอฟต์แวร์ 
  3. ข้อมูล
  4. บุคลากร
  5. ขั้นตอนปฎิบัติงาน

1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ 
             - หน่วยรับข้อมูล (Input unit) ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์  ไมโครโฟน

                   

                                                                                                     

- หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)






           

    

2. ซอฟต์แวร์ (Software) คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 
ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ 
    - ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
    - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน 

3. ข้อมูล (Data) เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ

4. บุคลากร (Peopleware) เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน (Procedure) ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ

ประเภทของระบบสารสนเทศ
1.ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ (TPS : Transaction Processing Systems) 
เป็นระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับการบันทึกและประมวลข้อมูลที่เกิดจาก ธุรกรรมหรือการปฏิบัติงานประจำหรืองานขั้นพื้นฐานขององค์การ เช่น การซื้อขายสินค้า การบันทึกจำนวนวัสดุคงคลัง เมื่อใดก็ตามที่มีการทำธุรกรรมหรือปฏิบัติงานในลักษณะดังกล่าวข้อมูลที่เกี่ยวข้องจะ
เกิดขึ้นทันที เช่น ทุกครั้งที่มีการขายสินค้า ข้อมูลที่เกิดขึ้นก็คือ ชื่อลูกค้า ประเภทของลูกค้า จำนวนและราคาของสินค้าที่ขายไป รวมทั้งวิธีการชำระเงินของลูกค้า
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS : Management Information System) คือระบบที่ให้สารสนเทศ ที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารทำงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้งสารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน นอกจากนี้ระบบนี้จะต้องให้สารสนเทศในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง แม้ว่าผู้บริหารที่จะได้รับประโยชน์จากระบบนี้สูงสุดคือผู้บริหารระดับกลาง แต่โดยพื้นฐานของระบบนี้แล้วจะเป็นระบบที่สามารถสนับสนุนข้อมูลให้ผู้บริหารทั้งสาม ระดับ คือทั้งผู้บริหารระดับต้น ผู้บริหารระดับกลาง และผู้บริหารระดับสูง โดยระบบนี้จะให้รายงานที่สรุปสารสนเทศซึ่งรวบรวมจากฐานข้อมูลทั้งหมดของบริษัท
3.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (DSS : Decision Support System) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจากระบบ MIS อีกระดับหนึ่ง เนื่องจาก ถึงแม้ว่าผู้ที่มีหน้าที่ในการตัดสินใจจะสามารถใช้ประสบการณ์หรือใช้ข้อมูลที่มีอยู่แล้วในระบบเอ็มไอเอส ของบริษัท สำหรับทำการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพในงานปกติ แต่บ่อยครั้งที่ผู้ตัดสินใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารในระดับสูงและระดับกลางจะเผชิญกับการตัดสินใจทีประกอบด้วยปัจจัยที่ซับซ้อนเกินกว่าความสามารถของมนุษย์ที่จะประมวล เข้าด้วยกันได้อย่างถูกต้อง 
จึงทำให้เกิดระบบนี้ขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่สนับสนุนความต้องการเฉพาะของผู้บริหารแต่ละคน (made by order) ในหลายๆสถานการณ์ ระบบนี้มีหน้าที่ช่วยให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างสะดวก 
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (GDSS : Group Decision Support System) 
เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์
5.ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS : Geographic Information System) 
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย 
6.ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง 
(EIS : Excutive Information System) 
เป็นระบบที่สร้างขึ้น เพื่อสนับสนุน สารสนเทศและการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับสูงโดยเฉพาะ หรือ สามารถกล่าวได้ว่าระบบนี้คือส่วนหนึ่งของ DSS ที่แยกออกมา เพื่อเน้นการให้สารสนเทศที่สำคัญต่อการบริการแก่ผู้บริหาร
7. ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) 
ระบบที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นผู้ชำนาญการ ในสาขาใดสาขาหนึ่ง คล้ายกับมนุษย์ ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่นๆ คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการ ตัดสินใจได้ดีขึ้น อย่างไรก็ดีระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับการจัดการ ความรู้ (Knowledge) มากกว่าสารสนเทศ และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์ โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)
8.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (OAS : Office Automation System) เป็นระบบที่ใช้บุคลากรน้อยที่สุด โดยอาศัยเครื่องมือแบบอัตโนมัติและระบบสื่อสารเชื่องโยงข่าวสารระหว่างเครื่องมือเหล่านั้นเข้าด้วยกัน QAS มีจุดมุ่งหมายให้เป็นระบบที่ไม่ใช้กระดาษ (Paperless System) ส่งข่าว สารถึงกันด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange) แทน 
ซึ่งมีรูปแบบในการใช้งาน 2 ลักษณะ
  • รูปแบบของระบบงานพิมพ์และการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Publishing & Processing System) ได้แก่การสื่อสารด้วยข้อความ รูปภาพ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-Mail) โทรสาร (FAX) หรือ เสียงอิเล็กทรอนิกส์ (Voice Mail) เป็นต้น
  • รูปแบบการประชุมทางไกลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Meeting System) เป็นเทคนิคที่ทำให้กลุ่มคนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ คล้ายการพูดคุยกันโดยตรง เช่น การประชุมทางไกลแบบมีแต่เสียง (Audio Conferencing),การประชุมทางไกลแบบมีทั้งภาพและเสียง (Video Conferencing) หรือ ทั้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรสาร และ เสียงอิเล็กทรอนิกส์รวมกัน เป็นต้น








            












เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน




ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์และผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
-ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร?
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที (Information Technology : IT) คือการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์-โทรคมนาคมเพื่อนำมาใช้จัดเก็บ ค้นหา จัดส่ง กระจายออก ติดตาม 
รวบรวม และจัดการข้อมูลต่างๆ

-ที่มาของคำ “เทคโนโลยีสารสนเทศ”
เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำว่า “ เทคโนโลยี” รวมกับคำว่า “สารสนเทศ”
“เทคโนโลยี”  คือสิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ รวมถึงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่นระบบ หรือ กระบวนการต่างๆ  ที่ช่วยให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกมากขึ้น
“สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้ ที่ได้มีการบันทึก ประมวล หรือดำเนินการด้วยวิธีใดๆไว้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และเผยแพร่ทั้งส่วนบุคคล และสังคม

-สรุปความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
กล่าวโดยสรุป
 เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ  ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น โดยนำเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆโดยเฉพาะ เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มาจัดการกับสารสนเทศอย่างเป็นระบบเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด
เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศรวมถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ฯลฯ ด้วย

-องค์ประกอบของเทคโนโลยีสารสนเทศ 
เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย 
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ   
เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต่างๆ รวมทั้งซอฟท์แวร์ทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในงานเฉพาะด้าน ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จัดเป็นเครื่องมือทันสมัย และใช้เทคโนโลยีระดับสูง (High Technology)
2. กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ข้างต้นมาใช้งาน 
เพื่อรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป เช่น การจัดเก็บข้อมูลในลักษณะของฐานข้อมูล เป็นต้น

Merriam-Webster Dictionary (1978) 
    “Information Technology is the technology involving the development, maintenance, and use of computer systems, software and networks for the processing and distribution of data.”

The key point of information technology is:
      “ It involves the processing of data by computer.”
 “เทคโนโลยีสารสนเทศ จะต้องเกี่ยวข้องกับ 
 กระบวนการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์”

กล่าวโดยสรุป 
เทคโนโลยีสารสนเทศครอบคลุมทั้งเทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์ และกระบวนการที่ช่วยทำให้ระบบสารสนเทศมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศประโยชน์ และผลกระทบ

-ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ 


  1. ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ช่วยทำให้วิทยาการต่าง ๆ เจริญก้าวหน้าและทันสมัยอย่างรวดเร็ว
  3. การรับรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของโลกเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว
  4. ช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลและคลังความรู้ขนาดใหญ่  ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์เพื่อการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต
  5. สนับสนุกการทำงานและกระบวนงานผลิต  เช่น  การใช้คอมพิวเตอร์ในการวางแผน  การออกแบบ  และการควบคุมกระบวนการทำงาน
  6. เกิดระบบบริหารจัดการในรูปแบบใหม่  อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทรัพยากรและการผลิต
  7. กระจายโอกาสทางด้านการศึกษา  ผู้ที่อยู่ห่างไกลจากตัวเมืองสามารถเรียนรู้ผ่านระบบการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมได้
  8. สามารถเผยแพร่สารสนเทศและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่สังคมโลกได้โดยง่าย  เช่น  การเผยแพร่งานในอินเตอร์เน็ตตำบล  เป็นต้น
  9. มีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง


ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
  2.  เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์ 
  3. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
  5. เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา : any where, any time
  6. เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น และทำให้เกิดแนวทางการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น 

กล่าวโดยสรุป

เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ






วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ




-เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน
ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ
• เทคโนโลยีโทรคมนาคม

• เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

-เทคโนโลยีโทรคมนาคม
การประดิษฐ์โทรเลข Samual Morse (ปีพ..2380)ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่ง
ไปตามสายเป็นระยะไกลๆ
การวางสายเคเบิ้ลใต้มหาสมุทรแอแลนติก (ปีพ..2401)
การสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก
การประดิษฐ์โทรศัพท์ –Alexander Graham Bell (ปีพ..2419)การตั้งชุมสายโทรศัพท์ครั้งแรก 
และการขยายตัวของชุมสายฯ

-การสื่อสารไร้สาย
การค้นพบคลื่นวิทยุ โดยHeinrich Hertz (ปีพ..2430)
การประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกโดย Guglielmo Marconi (ปีพ..2437)  
การประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ จุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ 
โดย John Flemming และ Lee De Forest
การประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและ
ซีพียูในคอมพิวเตอร์ โดย Schockley, Bardeen และ Brattain (ปีพ..2490)
การประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ที่เป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน 
โดย Vladimir Zworykin  (ปี พ..2497)
การประดิษฐ์วงจรรวมหรือ ไอซี โดย Jack Killby และ Robert Noyce (ปีพ..2500) 
เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูง
และมีขนาดเล็ก
การสร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์1 – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก โดยบริษัท 
AT&T (ปีพ..2504)
-เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
ความเป็นมาของคอมพิวเตอร์

 1936  Konrad Zuse - Z1 Computer
• First freely programmable computer

1942  John Atanasoff & Clifford Berry: ABC Computer

1944 Harvard Mark I Computerfirst programmable digital

1951 UNIVAC ComputerFirst commercial computer

1955 ERMA and MICR The first bank industry computer


1969 ARPAnet


1971 Intel 4004 ComputeMicroprocessorr

1981 The IBM PC - Home Computerand MS-DOS Computer Operating System

1983 Apple Lisa Computer The first home computer with a GUI, graphical user interface.


1984 Apple Macintosh Computer

1985 Microsoft Windows

-พัฒนาการการสร้างคอมพิวเตอร์สมัยใหม่
ยุคที่1 พ.ศ. 2489-2501 (1946-1958)
-การประดิษฐ์เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มิใช่เครื่องคำนวณ โดย Mauchly and Eckert – ENIAC (Electronic Numerical Integrator and Calculator)
-UNIVAC (Universal Automatic Computer) – คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกที่ใช้งานเชิงธุรกิจ ใช้สำรวจสำมะโนประชากรประจำปี
-ยุคแรกของ คอมพิวเตอร์สิ้นสุดเมื่อมีการประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์มาใช้แทนหลอดสุญญากาศ
ยุคที่ 2 .. 2502-2506 (1959-1963)
ใช้ทรานซิสเตอร์กับคอมพิวเตอร์ ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการทำงานรวดเร็วขึ้น แม่นยำมากขึ้น
มีการคิดภาษาเพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ ภาษา Fortran
ยุคที่ 3 พ.ศ. 2507 -2512 (1964-1969)
เกิดขึ้นหลังการนำทรานซิสเตอร์มาใช้ 5 ปี
การประดิษฐ์วงจรรวม (Integrated- Circuit: IC)
ทำให้ส่วนประกอบและวงจรต่างๆสามารถวางลงบนแผ่นชิป (chip)เล็กๆ แผ่นเดียวได้ 
ใช้แผ่นชิปแทนทรานซิสเตอร์ -ประหยัดเนื้อที่ได้มาก
ารใช้งานระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management Systems: DBMS)
การพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานร่วมกันได้หลายๆงานในเวลาเดียวกัน
ระบบที่ผู้ใช้สามารถโต้ตอบกับเครื่องได้หลายๆคนพร้อมๆกัน(Time Sharing)
ยุคที่ 4 .. 2513 -2532 (1970-1989)
นำสารกึ่งตัวนำมาสร้างเป็นวงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integrated: VLSI)- 
ย่อส่วนไอซีธรรมดาหลายๆวงจรเข้ามาเป็นวงจรเดียวกัน
การประดิษฐ์ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)- เครื่องมีขนาดเล็กลง ราคาถูกลง 
ความสามารถในการทำงานสูงและรวดเร็วมาก
เกิดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer: PC)
ยุคที่ 5 พ.ศ. 2533 –ปัจจุบัน (1990-Present)
เน้นการพัฒนาความสาสารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ ความสะดวกสบายในการ
ใช้งาน
การพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็ก (Portable Computer)
พัฒนาอุปกรณ์VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น

โครงการวิจัยและพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) – เป็นหัวใจ
ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ของยุคนี้ – ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาอย่าง
เป็นเหตุเป็นผลตามลักษณะของโปรแกรม

-ลักษณะของระบบปัญญาประดิษฐ์
1.  ระบบหุ่นยนตร์หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System)
- หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ – แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม/
หุ่นยนตร์กู้ระเบิด

2.    ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) -- ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ /นาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock)/ เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calcuator)

3. ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Regcognition System)- พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษามนุษย์- จดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง –งานระบบรักษาความปลอดภัย/ งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) -พัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา อาศัยฐานข้อมูล (Database) เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้จากฐานความรู้นั้น- คอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค/ คอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา